บินสำรวจ UAV
บินสำรวจ UAV
การบินสำรวจด้วยโดรน (UAV)
งานบริการด้านบินสำรวจด้วยโดรน
ทางบริษัทมีการให้บริการที่หลากหลาย โดยแบ่งออกเป็น 5 บริการดังนี้
- บินสำรวจทำแผนที่ด้วยอากาศยานไร้คนขับ พร้อมจุดควบคุมภาพถ่าย
- ประมวลผลข้อมูลภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ
- รังวัดตำแหน่งด้วยดาวเทียม ด้วยวิธี Static และ RTK
- จัดทำหมุดพิกัดฐาวรพร้อมรังวัดตำแหน่งด้วยวิธั Static
- จัดทำรายงานการสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับตามรูปแบบที่ภาครัฐกำหนด
และนอกจากนี้ทางบริษัทเราได้รับใบ Certificate จาก Pix4D : Pix4D mapper Essentials certification exam
เพื่อเป็นการยืนยันว่าเรามีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในงานสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับ
ในปัจจุบันโดรนถูกนำมาใช้กันอย่างมากในงานสำรวจและทำแผนที่ เนื่องจากสามารถเข้าถึงพื้นที่ที่เป็นอุปสรรคหรืออันตรายต่อการทำงานได้ เช่น พื้นที่ป่า ภูเขา ที่รกร้าง เป็นต้น มีความสะดวกและได้ข้อมูลอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นข้อมูลยังสามารถปรับแก้ให้มีความแม่นยำได้ในช่วง 5-50 ระดับเซนติเมตร ข้อมูลภาพถ่ายที่ได้สามารถนำไปประมวลผลได้ผลลัพธ์หลายประเภท เช่น Point cloud, Orthophoto, Digital terrain model, หรือ Contour lines เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สามารถนำไปผลิตเนื้อหาของงานด้านต่างๆ ได้
แผนที่ภาพถ่าย Orthophoto พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2021) |
แผนที่ภาพถ่าย Orthophoto องค์การบริหารส่วนตำบลบางขนุน (2019) |
ข้อมูล Point Cloud แบบจำลองอาคาร 3 มิติ |
แบบจำลองระดับสูงเชิงเลข (Digital Surface Model) |
การสำรวจด้วยโดรนนั้นจะติดตั้งกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูงพร้อมระบบนำทางด้วยดาวเทียม Global Navigation Satellite System (GNSS) บินสำรวจด้วยหลักการโฟโตแกรมเมตรี (Photogrammetry) ซึ่งหมายถึง บันทึกภาพถ่ายโดยให้มีส่วนซ้อนกัน ครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องการสำรวจ จากนั้นจะนำภาพเหล่านั้นมาประมวลผลโดยการหาจุดร่วมระหว่างภาพ จึงได้ผลลัพธ์ต่างๆ
บริษัทอินฟราพลัสมีความยินดีให้บริการสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับพร้อมการประมวลผลข้อมูล โดยคำนึงถึงคุณภาพของข้อมูลโดยเน้นความแม่นยำของข้อมูลและมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ด้วยการใช้จุดบังคับภาพถ่าย หรือ Ground Control Point (GCP) ร่วมในการประมวลผล ทั้งนี้การได้มาซึ่งความแม่นยำของตำแหน่งภาพถ่ายภาพถ่าย จะใช้วิธี Real-time kinematic positioning (RTK) หรือวิธี Post-Processed kinematic (PPK) (ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่)
- การทำเหมืองประเภทที่ 1 (เนื้อที่ไม่เกิน 100 ไร่) ให้รายงานปีละ 1 ครั้ง โดยการส่งรายงานครั้งแรก ให้ส่งพร้อมรายงานการทำเหมืองภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้ดำเนินการประกาศทะเบียนรายชื่อผู้ควบคุมงานรังวัดด้วยอากาศยานไร้คนขับ
- การทำเหมืองประเภทที่ 2 (เนื้อที่ไม่เกิน 625 ไร่) และ 3 (เหมืองแร่ประเภทอื่นๆ เช่น การเหมืองแร่ในทะเล การเหมืองแร่ใต้ดิน การเหมืองแร่ทองคำ การเหมืองแร่ถ่านหิน การทำเหมืองแร่กัมมันตรังสี) ให้รายงานปีละ 2 ครั้ง โดยการส่งรายงานครั้งแรก ให้ส่งพร้อมรายงานการทำเหมืองภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้ดำเนินการประกาศทะเบียนรายชื่อผู้ควบคุมงานรังวัดด้วยอากาศยานไร้คนขับ
หากท่านมีความต้องการใช้บริการงานสำรวจโดยใช้โดรน บริการของเราตอบโจทย์ท่านได้
12 พฤษภาคม 2565
ผู้ชม 13849 ครั้ง