งานบริหารโครงการ
งานบริหารโครงการ
โครงการศึกษาการเพิ่มศักยภาพการ Shift Mode ขนส่งทางลำน้ำเพื่อการประหยัดพลังงาน
การขนส่งสินค้าทางลำน้ำ
แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579 มีเป้าหมายที่จะลดความเข้มข้นของการใช้พลังงานลงร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2579 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2553 โดยภาคขนส่งมีการใช้พลังงานมากที่สุด ถึงประมาณร้อยละ 40 ของการใช้พลังงานของประเทศ
ปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณการขนส่งสินค้าทางถนนร้อยละ 87 ทางน้ำร้อยละ 12 และทางรางร้อยละ 1 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) มีเป้าหมายในการเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าทางลำน้ำให้มากขึ้นเป็นร้อยละ 15 ในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า (Shift mode) ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญในการอนุรักษ์พลังงานในภาคขนส่งซึ่งการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า (Shift mode) เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญในการอนุรักษ์พลังงานในภาคขนส่ง
การขนส่งทางน้ำถือเป็นการขนส่งมีอัตราการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าการขนส่งทางถนนถึง 3 เท่า และมีต้นทุนต่อน้ำหนักต่อระยะทางต่ำที่สุด โดยถูกกว่าทางถนนถึง 3-4 เท่า และถูกกว่าทางรางประมาณร้อยละ 30 (ไม่รวมถึงต้นทุนยกขนสินค้า (Handling Cost) และต้นทุนกองเก็บสินค้า (Storage Cost) ที่สถานีต้นทางและปลายทาง)
ปัจจัยต่อการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางน้ำ
ปัจจัยด้านราคาและระยะเวลาในการขนส่งสินค้ามีผลต่อสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางน้ำ หากต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่งลดลงจะทำให้สัดส่วนในการขนส่งสินค้าทางน้ำเพิ่มมากขึ้น
ศักยภาพการประหยัดพลังงานจากการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า
การขนส่งทางลำน้ำของประเทศไทยมีปริมาณการขนส่งส่วนใหญ่อยู่ในแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยา จากแบบจำลองเพื่อศึกษาศักยภาพการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า 6 ประเภท ได้แก่ ปุ๋ย อาหารสัตว์ ปูนซีเมนต์ มันสำปะหลัง ข้าว และน้ำตาล พบว่าหากสมมติค่าใช้จ่ายการขนส่งสินค้าทางน้ำลดลงร้อยละ 15 และการจัดการด้านเวลาดีขึ้น จะกระตุ้นให้มีการเพิ่มปริมาณขนสินค้าทางลำน้ำของสินค้ากลุ่มดังกล่าวได้สูงสุดถึงร้อยล่ะ 89 ของปริมาณทั้งหมด และจะสามารถลดการใช้พลังงานได้สูงสุดประมาณ 260 ktoe/ปี ในปี 2573 หรือคิดเป็นต้นทุนพลังงานที่ลดได้ 5,200 ล้านบาท/ปี หรือคิดเป็นการลดการใช้พลังงานในการขนส่งสินค้ารวมในช่วงปี 2563-2573 ประมาณ 1,376 ktoe
การขนส่งผู้โดยสารทางน้ำ
การส่งเสริมการเดินทางทางน้ำและการศึกษาเทคโนโลยีเรือไฟฟ้า
บริษัท พลังงานบริสุทธิ์จำกัด (มหาชน) “EA” ร่วมทุนกับบริษัทพริมามารีนจำกัด (มหาชน) “PRM” พัฒนาโครงการเรือโดยสาร
ปรับอากาศพลังงานไฟฟ้าเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา โดยใช้เรืออลูมิเนียมชนิด Catamaran ซึ่งเป็นเรือที่ให้การทรงตัวที่ดี ความเร็วสูง เกิดคลื่นน้อย และประหยัดพลังงาน ซึ่งระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าและใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน มีเป้าหมายที่จะทดลองให้บริการเส้นทางจากปากเกร็ดถึงท่าสาธร ระยะทางประมาณ 30 กม. ใช้เวลาราว 1.15 ชม.ต่อเที่ยว จำนวนเรือทั้งโครงการราว 42 ลำ ความถี่ให้บริการทุก ๆ 5 นาทีในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน เริ่มการดำเนินงานบางส่วนปลายปี 2562 และเต็มรูปแบบภายในต้นปี 2563
ศักยภาพการประหยัดพลังงานจากการใช้เรือไฟฟ้า
จากการศึกษาศักยภาพการประหยัดพลังงานในการขนส่งผู้โดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อมีการทดแทนเที่ยวเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมดด้วยเรือโดยสารไฟฟ้าโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี คาดว่าในปี 2573 จะสามารถประหยัดน้ำมันดีเซลได้ประมาณ 701 toe และคิดการประหยัดพลังงานสะสมในช่วงปี 2563-2573 จะมีค่าประมาณ 3.9 ktoe โดยเรือโดยสารไฟฟ้าแต่ละลำจะลดการใช้พลังงาน ได้ร้อยละ 68 เมื่อเทียบกับเรือแบบเดิม
สรุปแนวทางและศักยภาพการประหยัดพลังงาน
แผนงานอนุรักษ์พลังงานในการขนส่งทางน้ำ 4 ด้านหลัก ได้แก่ (1) ด้านโครงสร้างพื้นฐานและกฎระเบียบ (2) ด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ (3) ด้านการพัฒนาบุคลากรด้านขนส่งและ (4) ด้านการบริหารจัดการขนส่ง คาดว่าในปี 2573 หากดำเนินการได้ตามแผนจะประหยัดพลังงานจากการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารได้ประมาณ 261 ktoe และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 812.5 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) หากคิดเป็นพลังงานที่ประหยัดได้สะสมในช่วงปี 2563-2573 จะเท่ากับ 1,380 ktoe หรือต้นทุนพลังงาน 12,223 ล้านบาท และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 102,608.5 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e)
07 ตุลาคม 2563
ผู้ชม 630 ครั้ง