สายทาง
สายทาง
1.Feeder
ระบบนำส่งผู้โดยสาร (Feeder) ด้วยรถโดยสารประจำทาง
สนับสนุนการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าซึ่งเป็นระบบการขนส่งผู้โดยสารที่มีประสิทธิภาพสูง มีความปลอดภัยสูงและจะสามารถลดปริมาณการจราจรทางถนนลงได้จากการใช้บริการรถไฟฟ้าทดแทนรถยนต์ส่วนบุคคล อย่างไรก็ตามระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่อาจไม่สามารถเข้าถึงแหล่งชุมชนได้อย่างครอบคลุม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบรถโดยสารสาธารณะที่มีประสิทธิภาพเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารจากแหล่งชุมชนต่าง ๆเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า เพื่อให้เกิดการบูรณาการการขนส่งหลายรูปแบบกรมการขนส่งทางบกมีพันธกิจหนึ่งในการพัฒนาระบบควบคุม กำกับ ดูแล ระบบการขนส่งทางถนน ให้ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัย จึงเห็นชอบแผนยกระดับมาตรฐานผู้ขับรถ (Sure Driving Smart Driver) เพื่อตอบสนองนโยบายประเทศไทยที่ได้ให้ความสำคัญต่อประเด็นการจัดการปัญหาอุบัติเหตุทางถนน และยุทธศาสตร์กรมการขนส่งทางบกด้านการพัฒนาการให้บริการรูปแบบอัจฉริยะ ซึ่งสอดรับยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคมด้านการพัฒนาระบบขนส่ง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจึงดำเนินโครงการที่สอดรับกับนโยบายและสนับสนุนแผนงานดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อออกแบบระบบนำส่งผู้โดยสาร (Feeder) ที่มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการประกอบการ มีเป้าหมายเพื่อการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทาง สามารถลดปริมาณการจราจรที่เกิดจากการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและยกระดับความปลอดภัยจากการใช้รถใช้ถนนในภาพรวมมากยิ่งขึ้นทั้งนี้ “โครงการนำร่องจัดทำระบบนำส่งผู้โดยสาร (Feeder) จากหมู่บ้านมายังรถไฟฟ้าชานเมือง” เป็นหนึ่งในแผนงานที่ถูกระบุไว้ในผลการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการลดปริมาณการใช้ รถยนต์ส่วนบุคคลลง และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินทางจากรถยนต์ส่วนบุคคลมาเป็นการเดินทางโดยใช้ระบบการขนส่งสาธารณะ
iAmR (Infrastructure Asset Management for Rural Road)
โครงการ iAmR (Infrastructure Asset Management for Rural Road) มีวัตถุประสงค์ในการเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลระหว่างระบบต่าง ๆ ของกรมทางหลวงชนบทเข้าด้วยกัน โดยจะเป็นตัวกลางในการนำเข้าและส่งออกข้อมูลจากแต่ละระบบภายในที่เดียว เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกรวดเร็วและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งาน รวมไปถึงสามารถเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างระบบได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพด้วยหน้าจอ Visualization ที่สามารถเลือกข้อมูลจากระบบต่าง ๆ มาแสดงได้ทันที
เชื่อมโยงระบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน |
หน้าจอ Visualization |
นอกจากนี้ยังมีการออกแบบแผนแม่บทในการพัฒนาระบบต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องและตอบสนองต่อความต้องการในการใช้งานในอนาคตของกรมทางหลวงชนบท เป็นระยะเวลา 5 ปี แล้วเสร็จในปี 2567
โดยในการพัฒนาเฟสแรกในปี 2563 มีการพัฒนาสองระบบหลักที่เป็นส่วนสำคัญคือ
- ระบบบริหารงานบำรุงทาง หรือ PMMS (Pavement Maintenance Management System)
- ระบบบริหารฐานข้อมูลกลาง หรือ CRD (Central Road Database Management System)
ซึ่งทั้งสองระบบนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการนำไปสู่การบูรณาการเครือข่ายระบบของกรมทางหลวงชนบทด้วย iAmR
ระบบบริหารงานซ่อมบำรุงทาง (PMMS)
การพัฒนาระบบ PMMS ในปี 2563 มีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาส่วนการวิเคราะห์งบประมาณในการซ่อมบำรุงผิวถนน ซึ่งมีการใช้โมเดลการคำนวณต่าง ๆ ดังนี้
- Road Work Effect Model แบบจำลองผลกระทบจากการซ่อมบำรุง
- Road User Effect Model แบบจำลองผลกระทบต่อผู้ใช้ทาง
- Deterioration Model แบบจำลองการเสื่อมสภาพของผิวทาง
รวมไปถึงการวิเคราะห์งบประมาณด้วยวิธี Optimization ซึ่งจะเป็นการวิเคราะห์หาสายทางที่เหมาะสมที่สุดที่ควรมีการซ่อมบำรุงภายในงบประมาณที่กำหนด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมและสอดคล้องที่สุดในด้านนั้น ๆ เช่น มีผลประโยชน์ของผู้ใช้ทางสูงที่สุด หรือ มีค่า IRI (International Roughness Index) เฉลี่ยต่ำที่สุด โดยพิจารณาจากเกณฑ์ข้อมูลตัวแปรต่างๆ ของสายทางที่กำหนดไว้ (Intervention Criteria) ยกตัวอย่างเช่น ค่า IRI เพราะ ค่า IRI เป็นหนึ่งในตัวแปรหลักที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศไทยและระดับสากลที่ใช้สำหรับบ่งบอกถึงความสามารถในการให้บริการของถนนนั้น ๆ จึงนำมาเป็นมาตรฐานหลักในการนำมาพิจารณาการบำรุงรักษาสภาพถนน รวมไปถึงพิจารณาจากตัวแปรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ความเสียดทาน (Skid Resistance) ค่าการแอ่นตัว (Deflection) ความเสียหายของผิวทาง ปริมาณการจราจร และ ปริมาณรถบรรทุก
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาการแสดงผลข้อมูลสำรวจต่าง ๆ ทั้ง IRI, FWD (Falling Weight Deflectometer), Skid ให้อยู่ในรูปแบบของกราฟที่สามารถพิจารณาเกณฑ์ความเสียหายได้สะดวก และยังเชื่อมข้อมูลภาพการสำรวจเข้ากับค่า IRI ตามช่วงระยะทางที่กำหนด ทำให้สามารถตรวจสอบผิวทางบริเวณที่มีความเสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พัฒนาการแสดงผลข้อมูลความเสียหาย |
ปรับปรุงการวิเคราะห์งบประมาณด้วยวิธี Optimization |
ระบบบริหารฐานข้อมูลกลาง (CRD)
การพัฒนาระบบ CRD ในปี 2563 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาการนำเข้าและแสดงผลข้อมูลสายทางและข้อมูลสินทรัพย์ต่าง ๆ ภายในสายทาง โดยมีการพัฒนาในหลายด้าน เช่น พัฒนาการแสดงผลสายทางในแผนที่ด้วยเส้นคู่ ปรับปรุงวิธีการนำเข้าและแสดงผลข้อมูลรายละเอียดสายทางให้สะดวกมากยิ่งขึ้น เชื่อมโยงข้อมูลความสำรวจและประวัติการซ่อมบำรุงจากระบบ PMMS ให้สามารถตรวจสอบได้ภายในระบบ CRD รวมไปถึงการเพิ่มเติมรายการสินทรัพย์ใหม่ ๆ เช่น อาคาร สะพานลอยคนข้าม เกาะกลาง และทางลอด/ทางยกระดับ เพิ่มเติมรายละเอียดของผิวทาง นอกเหนือจากนี้แล้วส่วนที่สำคัญที่สุดคือ ออกแบบรายงานสรุปข้อมูลรายละเอียดทั้งหมดของสายทางภายในหน้าเดียว (รายงาน Decision Support) ซึ่งจะตอบสนองต่อความต้องการในการตรวจสอบรายการสินทรัพย์ ระดับการให้บริการของสายทางจากข้อมูลสำรวจต่าง ๆ รวมไปถึงการติดค้ำประกันการซ่อมบำรุงของสายทาง ที่จะสามารถตรวจสอบได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
รายงาน Decision Support |
11 พฤษภาคม 2565
ผู้ชม 6028 ครั้ง