INFRA PLUS UAV

Leading Innovative Solutions For Sustainable Infrastructure

รายละเอียดเพิ่มเติม

บริหารระบบ Application

1.Application ระบบนำทาง (Namtang)

2.Application พ้นภัย (PhonPhai)

3.PMCU Asset Management

4.Web ROW

Application ระบบนำทาง (Namtang)

“One Map One Urban Public Transport” 

  • เพื่อในอนาคตหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมจะได้ใช้ข้อมูลระบบขนส่งสาธารณะร่วมกันและเป็นชุดเดียวกัน ซึ่งสนับสนุนการวิเคราะห์แก้ไขสถานการณ์การวางแผนเพื่อกำหนดนโยบาย และภาพรวมของการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
  • ความสะดวกในการเดินทางของประชาชนด้วยระบบขนส่งสาธารณะ
  • ประชาชนสามารถวางแผนการเดินทางได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงสนับสนุนการเดินทางในลักษณะเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายระบบการขนส่งสาธารณะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

       เป็นโครงการที่จะจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก ที่ช่วยในการวางแผนการตัดสินใจการเดินทางและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเดินทางของประชาชนที่ใช้ระบบขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบ(ถนน ราง น้ำ) ที่ภาครัฐจัดหาให้ ซึ่งคาดหวังว่าจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากยิ่งขึ้น เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่มุ่งหวังให้ภาครัฐใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานและสร้างนวัตกรรมเพื่อมุ่งสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ในการยกระดับภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน มีการทำงานแบบอัจฉริยะ ให้บริการโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลางและขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง

        แอปพลิเคชัน “นำทาง (NAMTANG)” มีให้บริการทั้งในส่วนของ Web Application และ Mobile Application เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยวางแผนการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ ทั่วกรุงเทพและปริมณฑล สามารถบอกจุดจอดรถในเส้นทางที่เป็นอาคารจอดรถของระบบรถไฟฟ้าต่าง ๆ การคำนวณค่าใช้จ่ายในการเดินทางโดยระบบรถสาธารณะ มีฐานข้อมูลทั้ง รถโดยสารประจำทางและเรือที่ติด GPS, รถไฟฟ้า BTS MRT Airport Rail Link และรถไฟชานเมือง รวมทั้งสามารถรายงานสภาพจราจร นอกจากนี้ยังสามารถดูรายงานอุบัติเหตุระหว่างเส้นทาง และสามารถแจ้งเหตุเกิดอุบัติเหตุผ่านแอปนำทาง NAMTANG ได้ นอกจากนี้ยังสามารถค้นหาสถานที่ท่องเที่ยว สถานที่สำคัญที่อยู่ใกล้ตำแหน่งของผู้ใช้ได้อีกด้วย

สามารถติดตั้งเพื่อใช้งานได้ทาง App Store  (ใส่สัญลักษณ์ App Store) สำหรับระบบ iOS และ Google play (ใส่สัญลักษณ์ Google play) สำหรับระบบ Android


Application พ้นภัย (PhonPhai)

พ้นภัย Application

       เพื่อการแจ้งภัย และร้องขอความช่วยเหลือจากประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนจากสาธารณภัย รวมถึงเป็นเครื่องมือสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการภัยพิบัติ ในการประสานการช่วยเหลือ และจัดสรรทรัพยากร ได้อย่างสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

      สาธารณภัย คือภัยที่มีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ มีผู้ทำให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของประชาชนหรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ อันได้แก่

  • อัคคีภัย
  • วาตภัย
  • อุทกภัย
  • ภัยแล้ง
  • โรคระบาดในมนุษย์
  • โรคระบาดสัตว์
  • โรคระบาดสัตว์น้ำ
  • การระบาดของศัตรูพืช
  • การคมนาคม
  • ไฟป่าและหมอกควัน
  • แผ่นดินไหวและอาคารถล่ม
  • ภัยนามิ
  • ภัยทางอากาศ
  • การก่อวินาศกรรม
  • ภัยหนาว

สามารถติดตั้งเพื่อใช้งานได้ทาง App Store  (ใส่สัญลักษณ์ App Store) สำหรับระบบ iOS และ Google play (ใส่สัญลักษณ์ Google play) สำหรับระบบ Android

PMCU Asset Management

       สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีหน้าที่ในการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ในเขตพาณิชย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศ PMCU Asset Management โดยเชื่อมโยงข้อมูลกับฐานข้อมูลหลักของทางสำนักงานจัดการทรัพย์สินผ่านระบบจัดการฐานข้อมูล Oracle และทำการผูกกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เพื่อนำข้อมูลภายในฐานข้อมูลหลักมาจัดแสดงบนแผนที่ ให้ทราบถึงรายละเอียดที่ตั้งของอาคาร และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ทั้งนี้ได้นำผังพื้นที่อาคารพิเศษจัดทำข้อมูลหลายระดับ (Layer) รวมถึงการนำเสนอสื่อสมัยใหม่อุปกรณ์สมาร์ทโฟนและสมาร์ทดีไวซ์ สำหรับ e-marketing เช่น ข้อมูลภาพ 360 องศา ภาพถ่ายทางอากาศความละเอียดสูง เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ รวมถึงการบริหารสัญญาเช่าต่างๆ ในพื้นที่

    ดังนั้น สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงมีความประสงค์ในการสำรวจ และจัดเก็บข้อมูลพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง และการให้เช่าพื้นที่พิเศษอื่น ในความรับผิดชอบของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกทั้งตำแหน่งข้อมูลสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย (Facility) และทรัพย์สินทั้งภายในและภายนอกอาคาร ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะแสดงข้อมูลได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ 

แสดงแผนที่ตั้งของ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บนระบบ PMCU การแสดงผลซ้อนทับกันระหว่างข้อมูลภาพมุมกว้าง 360 องศากับจุดเลเซอร์ Point Cloud

       ทำการเชื่อมโยงภาพมุมกว้างที่ได้จากการสำรวจ นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง โดยระบุตำแหน่งภาพ 1 จุด ต่อภาพมุมกว้าง 1 ภาพ ให้สอดคล้องกัน รวมไปถึงการคำนวณทิศทางการหันมุมกล้อง ให้ตรงกับสภาพภูมิประเทศจริง

แสดงภาพหน้าจอระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง

       จัดทำบัญชีข้อมูลแผนผังอาคารและสิ่งปลูกสร้างหลายระดับ (Layer) โดยการเพิ่มประสิทธิภาพข้อมูลภายในอาคาร เช่น อาคารสยามสแควร์วัน อาคารสยามกิตติ์ อาคารจัตุรัสจามจุรี และอาคารวิทยกิตติ์ เป็นต้น ข้อมูลที่จำทำการจัดเก็บคือข้อมูลอำนวยความปลอดภัยต่างๆ เช่น ทางออกฉุกเฉิน บันไดหนีไฟ ถังดับเพลิง และข้อมูลสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ

แสดงภาพข้อมูลภายนอกอาคาร และภายในอาคาร โครงการ PMCU

 

โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารจัดการกรรมสิทธิ์ที่ดินในเขตทางหลวงของกรมทางหลวงชนบท (Web ROW)

โดยวัตถุประสงค์โครงการมีรายละเอียด ดังนี้

  • เพื่อศึกษา วิเคราะห์ เสนอกําหนดแนวทางการดําเนินงาน และตรวจสอบความพร้อม และความสมบูรณ์ของข้อมูลในการพิสูจน์ทราบที่ดินในเขตทางหลวงของกรมทางหลวงชนบท
  • จัดทําระบบสารสนเทศสําหรับบริหารจัดการกรรมสิทธิ์ที่ดินในเขตทางหลวงของกรมทางหลวงชนบท โดยเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับระบบภูมิสารสนเทศ (Geographic Information System : GIS)
  • เพื่อพัฒนากระบวนการพิสูจน์ทราบเขตทางของกรมทางหลวงชนบทให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น

              

       เนื่องด้วยกรมทางหลวงชนบทมีพื้นที่งานทางในความรับผิดชอบที่มาก และกระจายตัวทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อการพัฒนาแนวเขตทางของกรมทางหลวงชนบทให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกรมทางหลวงจึงมีแนวคิดในการพัฒนาระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและจัดเก็บข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ใช้ในการประกอบการ วางแผน วิเคราะห์ ตัดสินใจ ในการปฏิบัติหน้าที่ด้านงานทาง เช่น การปรับเขตพื้นที่และแบบก่อสร้างทาง การขยายช่องจราจร วิเคราะห์และประเมินพื้นที่รอบข้างตามแนวเขตทาง เพื่อให้ครอบคลุม บริเวณคาดว่าจะต้องการเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวเขตทาง และเพิ่มศักยภาพของการพัฒนาแนวเขตทางที่กรมทางหลวงชนบทรับผิดชอบ


17 พฤษภาคม 2565

ผู้ชม 642 ครั้ง

Engine by shopup.com